สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany)
ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรป เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน เยอรมนีถือได้ว่าเป็น 1 ใน ประเทศของโลกที่มีระบบเศรษฐกิจ, เทคโนโลยี และการศึกษาที่เข้มแข็ง และจากแหล่งที่ตั้งของประเทศที่อยู่ตรงใจกลางของทวีปยุโรปทำให้เยอรมนีมี ประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบทั้งหมด 9 ประเทศ ดังนี้
– ออสเตรีย
– เบลเยี่ยม
– สาธารณรัฐเช็ก
– เดนมาร์ก
– ฝรั่งเศส
– ลักเซมเบอร์ก
– เนเธอร์แลนด์
– โปแลนด์
– สวิตเซอร์แลนด์
มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 357,021 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายหลักของประเทศแห่งนี้คือแม่น้ำไรน์ (RhineRiver) ซึ่งมีความยาวที่สุดในประเทศเยอรมนี
ภูมิศาสตร์
ขนาด : 357,021 ตารางเมตร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด : เบอร์ลิน (Berlin) มีประชากรทั้งสิ้น 3.4 ล้านคน, ฮัมบวร์ก (Hamburg), มิวนิค (Munich), โคโลญจน์ (Cologne) และแฟรงค์เฟริตต์ (Frankfurt)
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่ทางภาคเหนือจะเป็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเกษตรกรรมต่างๆ มากมาย ส่วนคตอนกลางของประเทศจะมีแม่น้ำไหลผ่านหุบเขาสูงชันซึ่งเต็มไปด้วยโขดหินและต้นไม้หนาแน่นเรียกพื้นที่นี้ว่า"ภูเขาฮาร์ซ" ทางตอนใต้มีเนินเขาและภูเขาสูงมากมาย พื้นที่บริเวณระหว่างเนินเขาเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศเยอรมนีคือ ยอดเขาซูกชปิตเซ่(Zugspitze) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาบาวาเรียนแอลป์ (Bavarian Alps) สุงถึง 2.63 เมตร
ป่าดำ หรือภาษาเยอรมันเรียกว่า "ชวาสวาลด์" (Schwarzwald) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยภูเขาที่เรียกว่า "ป่าดำ" เพราะมีต้นสนสีเขียวเข้มขึ้นอยู่ตามเทือกเขาหนาแน่นดูคล้ายสีดำ
ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศเยอรมนีมีภูมิอากาศแบบไม่รุนแรง ทางตอนเหนือของประเทศมักมีหมอกลงและเมฆปกคลุมตลอดทั้งวัน ส่วนทางใต้ของประเทศในฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศจะร้อนและหนาวกว่าภาคอื่น ๆ บริเวณทางใต้ของที่ราบสูงตอนกลางและตามเขายาวต่าง ๆ มักมีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว ทุกฤดูกาลทั่วประเทศมีปริมาณน้ำฝนปานกลาง
16 รัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
1บาเดิน-เวิร์ทแทมเบิร์ก (Baden-Württemberg)
2บาวาเรีย (Bavaria)
3เบอร์ลิน (Berlin)
4บรันเดนบวร์ก (Brandenburg)
5เบรเมน (Bremen)
6ฮัมบวร์ก (Hamburg)
7เฮสเซน (Hesse)
8เมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น (Mecklenburg-Vorpommern)
9นีเดอร์ซัคเซน (Niedersachsen)
10นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน (North Rhine-Westphalia)
11ไรน์ลันด์-ฟัลส์ (Rhineland-Pfalz)
12ซาร์ลันด์ (Saarland)
13ซัคเซน (Sachsen)
14ซัคเซน-อันฮัลท์ (Sachsen-Anhalt)
15ชเลสวิก-โฮลชไตน์ (Schleswig-Holstein)
16เธอริงเงน (Thueringen)
ประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 82.3 ล้านคน (แบ่งเป็นผู้หญิง 42.0 ล้านคน) นอกจากนี้ยังมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเยอรมนีถึง 7.3 ล้านคน (คิดเป็น 8.8 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมด
โครงสร้างอายุ : ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 14 และผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.
ศาสนา : นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ 52 ล้านคน ศาสนาอิสลาประมาณ 4 ล้านคน ศาสนาพุทธประมาณ 235,000 คน และศาสนายิวอีก 106,000 คน อย่างไรก็ตามกฎหมายได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาและไม่มีโบสถ์ประจำชาติแต่ อย่างใด
ภาษา : ภาษาเยอรมัน
เป็นภาษากลุ่มเจอร์เมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอัลซาซและบางส่วนของแคว้นลอร์แรนในฝรั่งเศส
นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู
ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป
พัฒนาการด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ปัจจุบัน การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของรัฐต่างๆ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมในหลายๆ บริบัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความถี่ของภัยธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงของสภาพ
ภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้น กอปรกับผลชี้วัดทางวิทยาศาสตร์ทำให้ประเด็นความเสื่อมของสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
กลายเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของมวลมนุษยชาติที่ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจมากขึ้นเป็น
ลำดับ และเป็นที่มาของการเรียกร้องให้เกิด “ความรับผิดชอบของรัฐ” ด้านสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติในหลายๆ ด้าน อันส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยภาคการผลิตเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนา มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี
พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นบทเรียนสำคัญซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประสิทธิภาพการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และขยะของประเทศ
ขณะที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นอีกประเทศอุตสาหกรรมหนึ่งที่เคยประสบผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม อันเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๒ และเพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวแก่ประชาชน รัฐจึงเป็นผู้มีบทบาทส าคัญ
ในการหามาตรการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม โดยในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ผ่าน
กฎหมายการจัดการขยะแห่งชาติซึ่งนับเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับแรก ที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับการให้
“ผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษต้องจ่ายเงิน” โดยเป็นมาตรฐานบังคับใช้สำหรับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมการจัดการ
ป่าไม้และสาธารณูปโภค ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายดังกล่าวเป็นผลให้ไซท์งานกว่า ๕ หมื่นแห่ง ที่ไม่ได้รับอนุญาต
ต้องปิดตัวลง ขณะเดียวกันรัฐได้ผลักดันกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อให้ครอบคลุมการ
จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ กฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการปล่อยของเสีย พ.ศ. ๒๕๑๗
กฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการปล่อยของเสียสู่แหล่งน้ำ (สำหรับภาคครัวเรือน) พ.ศ. ๒๕๒๖ ระเบียบว่าด้วย
โรงงานเผาไหม้ขนาดใหญ่ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้น ปัจจัยด้านขยะและสิ่งแวดล้อมกอปรกับทรัพยากรพลังงาน
ภายในประเทศจำพวก ถ่านหิน และแร่ต่างๆ ไม่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว รัฐจึงได้ออกนโยบายใหม่
โดยตั้งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆให้เป็นวาระแห่งชาติโดยมีพัฒนาการที่สำคัญ
โดยรวมดังภาพ
ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นจะเป็นผู้กำกับดูแลด้านการคัดแยกขยะตามประเภทข้างต้นแล้วจึงนำไปจัดการ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
โดยในปัจจุบันรัฐบาลเยอรมนีได้แบ่งสายการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นประเภทต่างๆ
ดังนี้ ๒
๑. เศษแบตเตอรี่
๒. เศษพาหนะ
๓. เศษแก้ว
๔. เศษไม้
๕. น้ำมันเก่า
๖. เศษกระดาษ
๗. เศษขยะจากการก่อสร้าง/เศษจากการขุด
๘. ขยะชีวภาพ
๙. ขยะจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์
๑๐. ขยะอันตราย
๑๑. ตะกอนน้ำเสีย
๑๒. ขยะจำพวก พีโอพี-
๓
/พีซีบี๔
๑๓. ขยะจากภาคการผลิต
๑๔. ขยะปนเปื้อนสารปรอท
๑๕. ขยะชุมชน/ ขยะจากภาคอุตสาหกรรม
๑๖. ขยะบรรจุภัณฑ์
การจัดการขยะซึ่งรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้ในปัจจุบันมี ๕ มาตรการ
๕
ได้แก่
๑. การนำกลับมาใช้ใหม่
๒. การหมัก
๓. การเผา
๔. การจัดการทางชีววิทยาโดยเครื่องจักร
๕. การฝังกลบ
๔. คำพิพากษาที่สำคัญของศาลยุโรป และศาลเยอรมนี ว่าด้วยเรื่องการจัดการขยะ ๑๓
๔.๑ คำพิพากษาของศาลยุโรป
๔.๑.๑ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๑๒๑/๐๓ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการของภาครัฐ และเอกชนเป็นกรณีเฉพาะ
๔.๑.๒ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๔๑๖/๐๒ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการของภาครัฐ และเอกชนเป็นกรณีเฉพาะ
๔.๑.๓ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๖/๐๓ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย
การฝังกลบขยะ (สมาคมเพื่อการฝังกลบ ไอเทอร์เคิพเฟ่)
๔.๑.๔ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๔๖๓/๐๑ และ ซี-๓๐๙/๐๒ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๔๗
๔.๑.๕ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๔๕๗/๐๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ว่าด้วย
ขยะ–ผลิตภัณฑ์ที่สามารถน ากลับมาใช้ใหม่ได้ หรือเศษตกค้างจากการบริโภค เมืองไอเซ่นชรอท
๔.๑.๖ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี- ๑/๐๓ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๗ ว่าด้วย ขยะ
ผู้ผลิตขยะ และเจ้าของขยะ
๔.๑.๗ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี- ๒๓๕/๐๒ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ว่าด้วย
ถ่านปิโตรเลียมในฐานะผลพลอยได้จากการผลิต
๔.๑.๘ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี- ๓๘๙/๐๐ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ว่าด้วย
กองทุนสมานฉันท์
๔.๑.๙ คำพิพากษาศาลยุโรปในกรณี ซี-๔๕๘/๐๐ และ ซี-๒๒๘/๐๐ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ ว่าด้วย การเผาขยะ
๔.๒ ค าตัดสินของศาล สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
๔.๒.๑ คำพิพากษาศาลปกครอง รัฐบาเดน-เวือร์ทเทมแบร์ก เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ว่าด้วย การจ ากัดการก าจัดของเสียและการนำ กลับมาใช้ใหม่
๔.๒.๒ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมืองเลือเนอร์บวร์ก เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่าด้วย
การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่จากขยะจำนวนมาก(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดรัฐนีเดอร์ซัคเซิน
๔.๒.๓ คำพิพากษาศาลปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ว่าด้วย ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำทั้งใช้และไม่ใช้ที่เก็บขยะ
๔.๒.๔ คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย ความเห็นชอบ
ตามรัฐธรรมนูญของกองทุนสมานฉันท์เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
๔.๒.๕ค าพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย การถมที่ก่อสร้าง
ด้วยขยะ
๔.๒.๖ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด รัฐ ไรน์แลนด์-พฟลัลซ์เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘
ว่าด้วย การนำเศษไม้ปนเปื้อนไปอิตาลี
๔.๒.๗ คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ เมืองไลพ์ซิก เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ว่าด้วย การเป็นไปตามกฎหมายของข้อบังคับว่าด้วยของเสียที่เหลือ
๔.๒.๘ คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ ว่าด้วย หน้าที่ในการดูแลที่รองรับขยะ ฉบับที่ ๑
๔.๒.๙ คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗
ตามลายลักษณ์อักษร ว่าด้วย การฝังกลบ
๔.๒.๑๐ คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๗ ว่าด้วย หน้าที่ภาระผูกพัน ในการกำจัดขยะซึ่งต้องการการสอดส่องดูแล
๔.๒.๑๑ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมืองโคเบลนซ์ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ตามลายลักษณ์อักษร ว่าด้วยขยะภาคครัวเรือน
๔.๒.๑๒ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด รัฐนอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ว่าด้วย การบังคับใช้ระเบียบการฝังกลบและระเบียบการกำจัดขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น